วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

กฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว 




1.   ความหมายของกฎหมาย

กฎหมาย คือ  กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม

2.   ความสำคัญของกฎหมาย

2.1        เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ  จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง

2.2        เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม

2.3        เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

3.   ลักษณะของกฎหมาย

3.1        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ

3.2        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ

3.3        ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว

3.4        มีผลใช้บังคับตลอดไป

3.5        มีความเสมอภาคและยุติธรรม

4.   ประเภทของกฎหมาย

4.1        แบ่งตามความสัมพันธ์

1.       กฎหมายเอกชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน

2.       กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน

3.       กฎหมายระหว่างประเทศ  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ

4.2        แบ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

1.   พระราชบัญญัติ  คือ  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

2.   พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ

การตราพระราชกำหนดทำได้เฉพาะเห็นว่าเป็นกรณีที่ฉุกเฉิน  ได้แก่  การกระทำเพื่อประโยชน์ในอันที่จะ

(1)                      รักษาความปลอดภัยของประเทศ

(2)                      รักษาความปลอดภัยสาธารณะ

(3)                      รักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ

(4)                      ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ

(5)                      จำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน

3.   พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบการต่างๆ ทางบริหารโดยมีพระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้

4.   กฎกระทรวง  เป็นกฎที่ตราขึ้น  โดยรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้นเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆสำหรับการนำไปปฏิบัติ

5.   กฎอื่น ๆ  เช่น  ประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ เป็นต้น

4.3        แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้

(1)          กฎหมายสารบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ  หน้าที่  และความรับผิดชอบของบุคคล  โดยจะกำหนดการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดอันจะก่อให้เกิดสภาพบังคับ

(2)          กฎหมายวิธีสบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการวางวิธีการปฏิบัติสำหรับบุคคลที่จะเรียกร้องขอความคุมครองของกฎหมาย  เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เกิดขึ้น

กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

            กฎหมายแพ่งและพาณิชย์  หมายถึง  กฎหมายซึ่งรวมเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องทางแพ่ง  และในทางพา

ณิชย์ข้าไว้ด้วยกัน

           หลักทั่วไป

           บุคคล  หมายถึง  สิ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย  แบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ

-          บุคคลธรรมดา  หมายถึง  มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคลและสิ้นสุดสภาพบุคคล  โดยการตายและต้องมีสิ่งประกอบหรือทำให้ความเป็นบุคคลปรากฏชัดเจนขึ้น

-          นิติบุคคล  หมายถึง  กลุ่มบุคคลหลายคนร่วมกันตั้งกลุ่มขึ้นโดยอาศัยอำนาจในทางกฏหมายการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความสามารถของบุคคล

1.       ความสามารถของบุคคลทั่วไป  ตามกฎหมายปกติแล้วบุคคลทุกคนมีสิทธิทางกฎหมายเท่าเทียมกันแต่แตกต่างกัน  คือ  ความสามารถในการใช้สิทธิ

2.       ความสามารถของบุคคลไร้ความสามารถ  บุคคลไร้ความสามารถ  หมายถึง  บุคคลใดๆซึ่งไม่มีความสามารถตตามกฎหมาย

Ø กฎหมายที่เกี่ยวกับตนเอง

1.   กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล

-          ชื่อบุคคล  (Name)  เป็นถ้อยคำที่ใช้เรียกบุคคลเพื่อบ่งบอกถึงตัวบุคคลใด  ประกอบด้วยชื่อ  ชื่อรอง  และชื่อสกุล  เพราะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการจำแนกบุคคล  ส่วนชื่อรองกฎหมายไม่ได้บังคับ

-          ชื่อตัว  (First  Name)  เป็นชื่อประจำตัวของบุคคลแต่ละบุคคล  ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบิดาหรือมารดา

-          ชื่อสกุล  (Family  Name)  เป็นชื่อประจำวงศ์สกุลหรือประจำครอบครัวสืบเนื่องต่อมา  ชื่อสุกลโดยปกติจึงเป็นชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

-          ชื่อรอง  เป็นชื่อประกอบถัดไปจากชื่อตัว  มุ่งหมายบอกลักษณะหรือตัวบุคคลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพราะเมื่อบุคคลเกิดขึ้นมากๆ อาจมีชื่อตัวซ้ำกัน

2.   กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่สำคัญอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องมี  ซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนจะเสดงภูมิลำเนาและที่อยู่เพื่อความสะดวกในการติดต่อ  ติดตาม  และการช่วยเหลือต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Ø กฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัว

1.   การหมั้น

    ชายและหญิงสามารถกระทำการหมั้นได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอายุยังไม่ถึง  17  ปี การหมั้นถือว่าเป็นโมฆะ   การหมั้นต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้

-          บิดาและมารดา

-          ผู้รับบุตรบุญธรรม

-          ผู้ปกครอง

2.   การสมรส

       การสมรสจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  แต่กรณีที่มีเหตุอันสมควรอาจจะขออนุญาตให้ทำการสมรสก่อนได้

3.    ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา

3.1  สินส่วนตัว  ได้แก่  ทรัพย์สินที่

   (1)   ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

    (2)   เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย

   (3)   เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ

3.2  สินรสมรส  ได้แก่  ทรัพย์สินที่

   (1)  คู่สมรสได้มาระหว่างที่สมรส

   (2)  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม

   (3)  เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

                 4.  ความสัมพันธ์ในครอบครัว

                        -   สามีภรรยาต้องช่วยเหลืออุปการะกันตามความสามารถและฐานะของตน

                         -   บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาและมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา

                         -   บิดามารดาต้องอุปการะจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะ  ต้องให้การศึกษาแก่บุตร

                        -   บุตรไม่สามารถฟ้องร้องอุปการีได้

                         -  บุคคลที่สามารถรับคนอื่นเป็นลูกบุญธรรมได้  ต้องมีอายุมากกว่า  25 ปี

                         -   บุตรบุญธรรมมีฐานะได้สิทธิเช่นเดียวกับบุตร

                5. การหย่า

                     การหย่านั้นจะกระทำได้โดยยินยอมทั้งสองฝ่าย  หรือโดยคำพิพากษาของศาล

                 6.มรดก

                     มรดก  หมายถึง  ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ  ด้วยเว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้  โดยการได้รับมรดกมีสาเหตุดังต่อไปนี้

                 6.1  เจ้ามรดกตาย

                  การตายของเจ้ามรดก  หมายถึง  การตายโดยธรรมชาติ  กล่าวคือ  หัวใจหยุดเต้น  และสมองไม่ทำงาน  ส่วนสาเหตุที่ทำให้เจ้ามรดกต้องตายนั้นอาจเป็นเพราะสาเหตุใด ๆ ก็ได้

7 . ทายาท

7.1                    ทายาทโดยธรรม  คือ  บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกโดยผลของกฎหมาย

(1)          ผู้สืบสันดาน

(2)          บิดามารดา

(3)          พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4)          ปู่  ย่า  ตา  ยาย

(5)          ลุง  ป้า  น้า  อา

7.2                    ทายาทโดยพินัยกรรม  หมายถึง  ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้



                        8.   พินัยกรรม

               พินัยกรรม  คือ  การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้  มีหลายแบบเช่น

-          แบบธรรมดาหรือแบบทั่วไป

-          แบบเขียนเองทั้งฉบับ

-          แบบเอกสารฝ่ายเมือง

-          แบบเอกสารลับ

-          แบบทำด้วยวาจา

-          แบบทำในต่างประเทศ


-          แบบทำในสภาวะสงคราม





ข้อตกลงระหว่างประเทศ 

                   


                คำนิยามของคำว่า  ข้อตกลงระหว่างประเทศ  กับ  สนธิสัญญา  ทั้งสองคำนี้มีความหมายคล้วยคลึงกัน  แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อแตกต่างกันอยู่   ในประเด็นข้อกฏหมายต่างๆ  ดังจะกล่าวต่อไปนี้

1.1       คำนิยามข้อตกลงระหว่างปรเทศ

            บ่อเกิดของกฏหมายระหว่างประเทศที่เกิดจากข้อตกลง  ก็คือบ่อเกิดที่เกิดจาก ข้อตกลงระหว่างประเทศ  ซึ่งหมายถึง การกระทำทางกฏหมายหลายฝ่ายที่ตกลงทำกันขึ้นระหว่างบุคคลในกฏหมายระหว่างประเทศและอยู่ภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ

              ผลในทางกฏหมายที่สำคัญจากคำนิยามนี้มีอยู่  5  ประการคือ

       ประการแรก ข้อตกลงระหว่างเป็นการกระทำทางกฏหมายหลายฝ่าย (acte juridique multilateral) อันหมายถึง การกระทำที่ทำขึ้นหลายฝ่ายเพื่อก่อให้เกิดผลในทางกฏหมายระหว่างประเทศ (les actes accomplish en vue de produire un effet de droit international) กล่าวคือ เป็นการกระทำตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเพื่อก่อให้เกิดความผูกพันตามข้อตกลงระหว่างรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือระหว่างรัฐและองค์ระหว่างประเทศ

      ประการที่สอง ข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นข้อตกลงที่ปราศจากแบบ กล่าวคือ  ข้อตกลงระหว่างประเทศอาจเป็นได้ทั้งข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อตกลงด้วยวาจาก็ได้หรืออาจเป็นได่ทั้งข้อตกลงที่ต้องผ่านแบบพิธีหรือข้อตกลงแบบย่อ อาจเป็นได้ทั้งข้อตกลงที่เป็นเอกสารฉบับเดียวหรือเอกสารหลายฉบับ  หรืออาจมีมูลฐานมาจากความยินยอมโดยปริยายจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายก็ได้

            โดยเหตูนี้เราจึงมักเรียกชื่อ ข้อตกลงลายลักษณ์อักษรในรูปแบบต่างๆดังกล่าวข้างต้นได้หลายชื่อ  เช่นสนธิสัญญา ( Treaties )  อนุสัญญา ( Convention ) กติกา  ( Pact )  กฏบัตร  (Charte ) ธรรมนูญ  ( Statut )  ปฏิญญา ( Declartion )

       ประการที่สาม   ข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคลในกฏหมายระหว่างประเทศ  ซึ่งโดยปกติย่อมได้แก่  ข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างรัฐกับรัฐ    แต่โดยที่สังคมระหว่างประเทศมีการพัฒนาการเจริญก้าวหน้าและมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น  ไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐเท่านั้น  แต่ยังได้ขยายไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ  รัฐกับบุคคลธรรมดาหรือปัจเจกชน  ( Individual )   อีกด้วย  รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับรัฐและกับปัจเจกชน   หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศด้วยกันเอง   จนในบางครั้งก็ก่อปัญหาทางกฏหมายขึ้นได้ว่าข้อตกลงที่ทำขึ้นนั้นเป็นสนธิสัญญาหรือไม่  เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศหรือไม่   และจะอยู่ภายใต้บังคับของกฏหมายใด   กล่าวคืออยู่ภายใต้บังคับกฏหมายภายในของรัฐหรืออยู่ภายใต้บังคับกฏหมายระหว่างประเทศ   ในเรื่องนี้แต่เดิมแนงคำพิพากษา เช่นศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ  ( C.P.I.J.,P.C.I.J )   ได้ตัดสินวางหลักไว้ในคดีเงินกู้เซอร์เบียน  ค.ศ.  1929  ( Serbian  Loans  Case  1929  A/20  P.41 ) ว่าสัญญาทุกสัญญาที่มิใช่สัญญาระหว่างรัฐย่อมตกอยู่ภายใต้กฏหมายภายในของรัฐ

           ในทำนองเดียวกัน  ในคดี  Anglo-Iranian  Oil  Company  ค.ศ.  1952  ศาลยุติธรมมระหว่างประเทศ (C.I.J.,I.C.J. )  ก็ได้ยืนยันเช่นกันว่า  สัญญาสัมปทาน  ( contrat  de  concession,  concession  contract )  ที่ทำขึ้นระหว่างบรรษัทข้ามชาติของอังกฤษกับรัฐบาลอิหร่านนั้นมิใช่สนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับอิหร่าน

         อย่างไรก็ดีแนวโน้มในทางปฏิบัติปัจจุบัน เริ่มมีการยอมรับว่าสัญญาของรัฐกับบุคคลธรรมดาต่างชาติซึ่งเรียกกันว่า  สัญญาภาครัฐ  ( Contrat  d’Etat, State Contract ) ในบางกรณีก็อาจตกอยู่ภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศได้ในลักษณะที่เป็นกฏหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ  กล่าวคือ  เมือรัฐต่างๆเข้าทำสัญญาภาครัฐมากขึ้นๆ  และยอมรับหลักเกณฑ์ในข้อสัญญาว่าด้วยการไม่โอนกิจการของเอกชนต่างชาติเป็นของรัฐเช่นนี้  ก็อาจกลายเป็นกฏหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศได้  หรือหากรัฐนั้นประกาศว่าจะไม่โอนกิจการของเอกชนเป็นของรัฐ  คำประกาศดังกล่าวถือเป็นคำมั่นสัญญา  ( promise ) เป็นการกระทำฝ่ายเดียว

 ( unilateral  act )  ของรัฐนั้นและมีผลผูกพันต่อรัฐนั้น  แม้จะเป็นคำมั่นสัญญาที่ให้ต่อเอกชนก็ตาม  ดังนั้นเอกชนจึงอาจฟ้องรัฐต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้หากในสัญญาภาครัฐนั้นมีข้อบทสละความคุ้มกันและมีข้อบทให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ

     นอกจากนั้น   รัฐที่เอกชนถือสัญชาติอยู่ก็อาจเข้ามาให้ความคุ้มครองทางทูตแก่คนชาติของวยที่ตั้งของคณะกรรมการกาชาดระหว่าง

ตนได้หากคนชาติของตนได้หากคนชาติของตนหมดหนทางเยียวยาความเสียหายตามกฏหมายภายในของรัฐผู้รับการลงทุนโดยรัฐผู้ให้ความคุ้มครองทางทูตฟ้องรัฐผู้ละเมิดสัญญาภาครัฐหรือฟ้องรัฐที่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำประกาศฝ่ายเดียวของตนต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้หากคู่ความยอมรับอำนาจศาล แต่ถ้าเกิดกรณีไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐผู้ให้ความคุ้มครองทางทูตก็อาจใช้วิธีการยื่นในการให้ความช่วยเหลือคนชาติของตน  เช่น  การเจรจาทางการทูต  การไกล่เกลี่ย  การใช้คนกลางแก้ปัญหา  ไปจนถึงการใช้มาตราการตอบโต้ในรูปแบบต่างๆเท่าที่ไม่ขัดต่อกฏหมายระหว่างประเทศ เช่นการตัดความช่วยเหลือท่งการเงินหรือทางการทหาร  การระงับโครงการความร่วมมือต่างๆเป็นต้นอนึ่งข้อตกลงที่ทำขึ้นทางศาสนาด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ เช่น  Concordats   และข้อตกลงระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับรัฐก็ถือกันว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ  รวมทั้งข้อตกลงที่ว่าด้วยที่ตั้งของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ

ประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล  ( O.N.G., N.G.O. ) ก็ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเนื่องจากมีการรับรอง   ( Recognition ) สถานภาพบุคคลทางกฎหมายระหว่างประเทศ 

( International  legal  Personality ) ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจึงทำให้มีความสามารถทำข้อตกลงระหว่างประเทศได้

        ประการที่สี่  ข้อตกลงระหว่างประเทศย่อมก่อให้เกิดผลทางกฎหมายซึ่ง  กล่าวคือก่อให้เกิดความผูกพันทางกฏหมายซึ่งบุคคลในบังคับของกฏหมายระหว่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามและมีกำลังบังคับผูกพันให้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการตามพันธกรณีที่มีอยู่ต่อกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ

        ประการที่ห้า  ข้อตกลงระหว่างประเทศต้องอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ  อันหมายถึงข้อตกลงที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ  ความสมบูรณ์ของข้อตกลงการมีผลใช้บังคับของข้อตกลงระหว่างประเทศ  จึงต้องเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ  แต่ข้อตกลงใดเป็นข้อตกลงที่ต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมายภายในของแต่ละรัฐแล้ว  ข้อตกลงดังกล่าวก็มิใช่ข้อตกลงระหว่างประเทศแต่เป็นเพียงข้อตกลงธรรมดา  เช่น  ข้อตกลงกู้ยืม  ข้อตกลงเกี่ยวกับใบอนุญาตสิทธิบัตร 

          ลักษณะของข้อตกลงระหว่างประเทศ  5  ประการดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงขอบเขตที่กว้างขวางของข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งเกินความกว้างกว่าคำว่าสนธิสัญญาตามที่อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.  1969  ที่จะอธิบายถึงคำนิยามของ  สนธิสัญญา  ต่อไปนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น