วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐ



                คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ

1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ
ถึงแม้ว่าคำว่า รัฐ มักจะรวมถึงสถาบันรัฐบาลหรือการปกครอง ทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ ระบบรัฐสมัยใหม่มีลักษณะหลายประการ และคำดังกล่าวมักถูกใช้ในความหมายถึงระบบการเมืองสมัยใหม่เท่านั้น

คำว่า "ประเทศ" "ชาติ" และ "รัฐ" มักจะถูกใช้ในความหมายที่สามารถทดแทนกันได้ แต่การเลือกใช้คำจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้:

ชาติ: กลุ่มคนซึ่งเชื่อว่าตนมีวัฒนธรรม จุดกำเนิด และประวัติศาสตร์อย่างเดียวกัน
รัฐ: องค์ประกอบของสถาบันการปกครอง ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนและประชากรที่แน่นอน

รัฐ (State) เป็นคำที่ใช้สำหรับเรียกหน่วยของสถาบันการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสังคมและประชาชนผ่านการวางกฎระเบียบต่างๆ และคอยจัดสรรทรัพยากรภายใต้พื้นที่จำกัด (Kurian, 2011: 1594-1597) โดยรัฐจะมีหน้าที่หลักอยู่ 4 ประการ ดังนี้ หน้าที่ในการปกครองและควบคุมสังคม หน้าที่ในการเป็นหน่วยเดียวของสังคมที่สามารถใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรม หน้าที่ในการจัดการทรัพยากรภายในรัฐ ทั้งในด้านการเก็บภาษีและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หน้าที่ในด้านของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มา ในทางรัฐศาสตร์ นิยามของรัฐที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ นิยามของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) (อ้างใน Haralambos and Holborn, 2004: 541) ที่กล่าวว่า รัฐ คือ องค์กรทางการเมืองที่มีอำนาจบังคับและมีความต่อเนื่องในการผูกขาดการใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรมด้วยการบังคับใช้ระเบียบและกฎหมาย จากนิยามดังกล่าวจะเห็นว่ารัฐเป็นหน่วยทางการปกครองที่มีเป้าหมายในการรักษาระเบียบ (social order) ทั้งในทางสังคมและการเมือง นักวิชาการที่ได้รับอิทธิพลจากนิยามดังกล่าว จนสามารถสร้างผลงานทางรัฐศาสตร์ที่โด่งดัง คือ เธดา สค๊อกโพล (Theda Skocpol) (1979: 29-32) หนังสือชื่อ States and Social Revolutions ที่กล่าวว่า รัฐมีหน่วยงานในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ภายในเขตแดนอย่างชอบธรรม (legitimacy) เพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเอง คือการรักษาระเบียบ (maintains order) และทำการแข่งขันกับรัฐอื่นในด้านศักยภาพของรัฐ เช่น การทหาร เป็นต้น โดยอุดมคติแล้ว รัฐจึงมีหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน และภาคส่วนต่างๆ โดยกำกับให้การดำเนินกิจกรรมใดๆ ในรัฐ เกิดประโยชน์โดยรวมต่อสาธารณะอย่างสมดุล ในเชิงปฏิบัติ รัฐเป็นคำศัพท์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายและมีความหมายที่หลากหลายในตัวของมันเอง โดยสามารถจำแนกการใช้คำว่ารัฐออกเป็น 3 ความหมาย กล่าวคือความหมายแรก รัฐคือ พื้นที่ทางการเมืองในการต่อสู้ต่อรองของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ในการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่กลุ่มของตนมากที่สุด ความหมายที่สอง รัฐคือ รัฐบาล ที่ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศและมุ่งหวังสร้างคะแนนเสียงเพื่อให้ได้รับคัดเลือกกลับเข้ามาบริหารประเทศอีกครั้ง รัฐในความหมายนี้จึงไม่รวมถึงฝ่ายค้านในรัฐสภาและข้าราชการอื่นๆ และความหมายที่สาม รัฐคือ องค์การทางการเมือง หมายรวมถึงหน่วยงานทั้งหมดที่เป็นของภาคสาธารณะ ทั้งรัฐบาล ข้าราชการ ศาล และทหาร ซึ่งอาจถูกแทนด้วยคำว่าเจ้าหน้าที่รัฐ (the authorities) ได้ ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย สำหรับความหมายในสังคมไทย ในงานของชัยอนันต์ สมุทวณิช (2534: 25) ได้พยายามจำแนกการพิจารณาความหมายของรัฐออกเป็น 4 แนวทาง คือ 1) รัฐในฐานะที่เป็นรัฐบาล (the state as government) ซึ่งหมายถึงกลุ่มบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจในสังคมการเมือง 2) รัฐในฐานะที่เป็นระบบราชการ (the state as public bureaucracy) คือเครื่องมือทางการบริหารที่เป็นปึกแผ่นและมีระเบียบทางกฎหมายรองรับ 3) รัฐในฐานะที่เป็นชนชั้นปกครอง (the state as ruling class) และ 4) รัฐในฐานะที่เป็นโครงสร้างทางอุดมการณ์ (the state as normative order) ฉะนั้น ในการนิยามความหมายของรัฐ อาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้คำ ว่าจะให้คำว่า รัฐหมายแทนสิ่งใด อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ คำว่า รัฐกลับพบปัญหาในการนำมาใช้อย่างมาก เพราะตามแบบเรียนของการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยไม่ได้บอกว่ารัฐคืออะไร แต่กลับกล่าวเพียงแค่รัฐประกอบไปด้วย 4 หน่วยหลัก คือ ประชาชน เขตแดน อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล ซึ่งต้องครบองค์ประกอบดังกล่าวเท่านั้นจึงถูกเรียกว่ารัฐ การนิยามรัฐเช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นการท่องจำ และไม่ได้เชื่อมโยงกับความหมายในเชิงวิชาการทั้งในระดับภายในประเทศและระดับสากล สำหรับการใช้คำว่า รัฐในสังคมไทย มักถูกผูกโยงเข้ากับเรื่องของ อำนาจและ เจ้าหน้าที่เสมอ กล่าวได้ว่ารัฐเป็นหน่วยการปกครองหนึ่งที่มีเจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้อำนาจรัฐกับประชาชน และมีความหมายเชิงลบอยู่ในตัวเอง เพราะการใช้คำว่า อำนาจรัฐมีนัยไปถึงการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจปกครองกับประชาชนอย่างไม่ชอบธรรม หรือใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงประชาชนที่สามารถอยู่ด้วยกันภายในสังคมหรือชุมชนของตัวเอง รัฐในสังคมไทยจึงเป็นคำที่มีระยะห่างกับ ประชาชนและ สังคมมากพอสมควร และรัฐมักจะมีภาพลักษณ์ในด้านลบ เช่น เมื่อกล่าวถึงรัฐ คนมักจะนึกถึง การแย่งชิงอำนาจ การทุจริตคอร์รัปชั่น และความเชื่องช้าของระบบราชการในภาครัฐ ข้อสังเกตที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม จะเห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับ รัฐมีความหมายกว้างขวางมากที่สุดแนวคิดหนึ่ง และสามารถถูกใช้ได้ในหลายบริบทและหลายความหมาย จึงเป็นไปได้ยากในการนิยามคำว่ารัฐให้กระชับหรือถูกต้องเพียงความหมายเดียว แนวคิดว่าด้วยรัฐจึงอาจแยกพิจารณาโดยสังเขปได้ว่า รัฐในความหมายของพื้นที่ รัฐในความหมายของรัฐบาล และรัฐในความหมายของระบบราชการ ประเด็นที่สังคมไทยต้องพยายามทำความเข้าใจคือ รัฐอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าที่หลายคนตระหนัก ฉะนั้น บทบาทของรัฐจึงกระทบต่อชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน้าที่ของรัฐที่สำคัญ นอกจากจะรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมแล้ว รัฐต้องสร้างหลักประกันว่าจะพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวม และรัฐมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการประกันอิสรภาพและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล กล่าวได้ว่า ในสังคมประชาธิปไตย บทบาทของรัฐที่พึงปรารถนาคือ รัฐที่ช่วยพัฒนาอิสรภาพและเสรีภาพของประชาชนที่ด้อยโอกาสให้สามารถกระทำตามเจตนารมณ์ของเขาได้ รัฐที่กระจายทรัพยากรและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้แก่คนทุกกลุ่ม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน และกระจายความเท่าเทียมกันของคนในสังคม ในประเด็นหลัง บทบาทของรัฐในหลายประเทศจึงผูกโยงอยู่กับการจัดสรรสวัสดิการสังคม




ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย




      ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น  เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้

1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้  และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย  ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ
3. ทรงเป็นพุทธมามกะ  และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์  และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. ทรงไว้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา  รองประธานสภา  ผู้แทนราษฎร  รองประธานวุฒิสภา   และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผูแทนราษฎร
6. ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการเรียกประชุมรัฐสภา
7. ทรงไว้พระราชอำนาจในด้านการตรา พระราชบัญญัติ  พระราชกฤฏีกา  พระราชกำหนดเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยและ  ความมั่นคงทางเศษฐกิจของประเทศหรือป้องกันภัยพิบัติของสาธารณะ
8. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนองคมนตรี
9. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐบาลนำทูลเกล้าฯถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย
10. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
11. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรี
12. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ประธานศาลปกครองสูงสุด  ผู้พิพากษา  ตุลาการศาลยุติธรรม  คณะกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งราชการฝ่ายทหารและพลเรือนระดับสูง
13. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
14. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ

    นอกจากนี้ยังมีพระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระราชอำนาจอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2550  ในหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น